06 กุมภาพันธ์ 2555

บุญกิริยาวัตถุ ๑๐

 

บุญกิริยาวัตถุที่พระพุทธเจ้าแสดงไว้ในพระไตรปิฎกนั้น มีเพียง ๓ ประการตามที่กล่าวมาแล้ว ส่วนบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ นี้
เป็นส่วนที่พระอรรถกถาจารย์นำมาขยายให้มีความหลากหลายและให้ชาวพุทธได้มีวิธีการทำบุญมากขึ้น มีอธิบายตามลำดับข้อ ดังนี้ ๑-๓. ทานมัย สีลมัย ภาวนามัย มีอธิบายเหมือนบุญกิริยาวัตถุ ๓
                            ๔. อปจายนมัย บุญสำเร็จด้วยการประพฤติถ่อมตน
หมายถึง การแสดงความอ่อนน้อมถ่อมตน และแสดงความเคารพสักการะในบุคคล หรือในสถานที่ที่ควรเคารพ
เป้าหมาย : เพื่อกำจัดความถือตัว ทำลายทิฏฐิมานะ อันเป็นกิเลสสายโทสะ
หลักการปฏิบัติ : มีความเคารพยำเกรงในบุคคลที่ยิ่งกว่าตนโดยชาติกำเนิด เช่น พระราชามหากษัตริย์ ยิ่งกว่าตนโดยวัย คือมีอายุมากกว่า เช่น ลุง ป้า น้า อา และยิ่งกว่าตนด้วยคุณความดี เช่น บิดามารดา พระพุทธเจ้า
ผลที่จะได้รับ : ได้ ทำลายทิฏฐิมานะ ซึ่งเป็นกิเลสที่ทำให้จิตเศร้าหมอง กลายเป็นที่รักใคร่และสรรเสริญของคนทั่วไป อย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า อายุ วรรณะ สุขะ พละ ธรรม ๔ อย่างนี้ ย่อมเจริญแก่ผู้ที่มีปกติกราบไหว้
๕. เวยยาวัจจมัย บุญสำเร็จด้วยการช่วยขวนขวายในกิจที่เป็นกุศล  หมายถึง การให้ความช่วยเหลือในกิจที่เป็นประโยชน์ของผู้อื่นหรือส่วนรวม

     เป้าหมาย : เพื่อกำจัดความเห็นแก่ตัวที่เป็นกิเลสสาย
โลภะ ให้เป็นคนเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ โอบอ้อมอารี
มีเมตตาตผู้ต่ออื่น

    หลักการปฏิบัติ
:
ช่วยขวนขวายในกิจธุระของผู้อื่นหรือของส่วนรวม ไม่ว่าจะเป็นการช่วยด้วยกำลังแรงกาย กำลังทรัพย์ หรือกำลังความคิด ไม่นิ่งดูดายกลายเป็นคนใจดำ
     ผลที่จะได้รับ :
ได้กำจัดกิเลสคือความเห็นแก่ตัวในใจตน และช่วยส่งเสริมภารกิจของคนอื่นให้สำเร็จอีกด้วย

๖. ปัตติทานมัย บุญสำเร็จด้วยให้ส่วนบุญ

หมายถึง การให้สิ่งดี ๆ ที่ตนมีอยู่แก่ผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นวิชาความรู้ เทคนิคหรือเคล็ดลับต่าง ๆ ที่ทำให้การงานนั้นสำเร็จ หรือการอุทิศส่วนบุญ ส่วนกุศลที่ตนทำแล้วแก่ญาติมิตรและสรรพสัตว์ทั้งหลาย
   
   เป้าหมาย : เพื่อลดละความโลภในใจให้น้อยลง
          หลักการปฏิบัติ
: ถ่ายทอดความรู้ที่ตนมีอยู่และเห็นว่าเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น ไม่หวงแหนเก็บงำเอาไว้ เพราะเมื่อตนตายไปแล้วจะได้มีผู้สืบทอดความรู้ต่อไป อีกประการหนึ่ง เมื่อทำความดีอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ถวายทาน สวดมนต์ ฯลฯ ก็อุทิศส่วนบุญไปให้ผู้ที่ล่วงลับ เจ้ากรรมนายเวรด้วย
                                                      ผลที่จะได้รับ
: ได้ กำจัดความตระหนี่ในใจ ได้รับความสุขใจอันเกิดจากการเสียสละ ความรู้หรือความดีของตนได้รับการเผยแพร่ออกไปเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นอีกมาก มาย

 ๗. ปัตตานุโมทนามัย บุญสำเร็จด้วยการอนุโมทนาส่วนบุญ หมายถึง การแสดงความยินดีในการทำความดีของผู้อื่น ไม่มีจิตริษยา
เป้าหมาย : เพื่อกำจัดกิเลส คือถัมภะ ความหัวดื้อแข่งดี
ความริษยา หลักการปฏิบัติ : ยินดีอนุโมทนากับความสำเร็จของ
ผู้อื่น และนำมาเป็นแบบในการดำเนินชีวิตของตน

ผลที่จะได้รับ
:
ได้กำจัดกิเลสคือความถือตัวแข่งดี ความอิจฉาริษยาในใจ จิตใจย่อมเป็นสุขและเบาสบาย มีพลังในการที่จะทำความดีให้ได้อย่างเขา
๘. ธัมมัสสวนมัย บุญสำเร็จด้วยการฟังธรรม หมายถึง การตั้งใจฟังในสิ่งที่ดีมีประโยชน์

          เป้าหมาย : เพื่อให้เกิดปัญญาความรอบรู้ ความเห็นชอบ และกำจัดกิเลสคือโมหะ ความหลง ความเห็นผิดต่าง ๆ
       
หลักการปฏิบัติ :
เลือกฟังในสิ่งที่ดี เช่น ฟังพระธรรมเทศนา ฟังการบรรยายธรรม ตั้งใจฟังครูอาจารย์ที่สอน หรือหมั่นอ่านหนังสือ และสอบถามข้อข้องใจสงสัย


    ผลที่จะได้รับ : เป็นคนฉลาดรอบคอบ มีเหตุมีผล รู้ว่าอะไรดี-ชั่ว อะไรควรทำและไม่ควรทำ เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์                                                                         

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น